หลังจากกลับมานอนหลับฝัน ถึงสาวงามอัปสราคนนั้นว่า วิ่งไล่ปล้ำเธอรอบปราสาทจนลิ้นห้อยจนแล้วจนรอดใกล้จะตามเธอทันแค่มือเอื้อมจะคว้าชายผ้าของเธอ.........
กริ๊งๆๆๆ นาฬิกาของท้าวโซคคำเลาะก็ดังกระหึ่มปลุกให้ท้าวไซยสดุ้งตื่นขึ้นมาจากความฝันอันบรรเจิดมะรอมมะร่อ... โอ้ท้าวโชคขัดจังหวะเสียแล้ว งั้นก็บิดขี้เกียจแล้วเข้าห้องน้ำอาบน้ำล้างหน้าโกนหนวดเสียให้เรียบร้อย วันนี้เป็นวันแรกของการเจาะเสียมเรียบต้องทำตัวให้สะอาดเรียบร้อย
พูดถึงน้ำที่โรงแรมตาเนย (Tanei) นี้ ช่างถูกใจท้าวไซยคำเลาะดีแท้ ถ้าท่านบิดไปทางซ้ายจะร้อนจนลวกไข่ ทานกาแฟ ชงชาได้ แต่ถ้าบิดขวาจะเย็นเจี๊ยบเลยหละ ท้าวไซยไม่เข้าใจครั้งแรกบิดซ้าย อุเหม่เจ้าหล่อนอัปสรา...ช่างร้อนเสียจนลวกไข่สุกเกือบเป็นหมันเพราะโรงแรมตาเน่ย ใครไปพักที่นี่ระวังให้ดี ไข่จะถูกลวกจนถลอก หยึ๋ยยย....
หลังจากแต่งตัวเสร็จแล้ว ท้าวโซคก็อาบน้ำแต่งตัวบ้าง วันนี้นัดกันใส่เสื้อ ท้าวไซยคำเลาะ และบอกสารถีอะเล็คว่า ให้มารับตอนตีสี่ครึ่ง ลงไปทดสอบทานกาแฟเขมรก็รสชาติใช้ได้พอๆกันกับของไทย ได้เวลา กลุ่มสี่พยัคฆ์คำเลาะเดินทางไปเจาะเสียมเรียบก่อนพระอาทิตย์ขึ้น ถนนหนทางยังมืดมิดแต่พระเจ้าจอร์จ มีนักท่องเที่ยวแบบเรากลับตื่นนอนแต่เช้าแล้ว ปั่นจักรยานก็มี รถโฟร์วิลแบบเราก็มี มีแทบทุกชาติ ชาวบ้านร้านช่องของเสียมเรียบยังไม่ตื่น พ่อค้าแม่ขายตื่นแล้ว และพี่น้องชาวกัมพุชนครคงสงสัยว่า เขาจะมาดูอะไรกันนักกันหนาน้อ....ปราสาทหินก็เห็นจนชิน เขาคงไม่ตื่นเต้นเท่าเรา เราตื่นเต้นมากกว่า
นี่แหละ ท่านเหนี่ยวถึงบอกว่า การท่องเที่ยว คือการแสวงหาความรู้ ท้าวไซยเองก็บอกว่า
การท่องเที่ยว คือการแสวงหาสิ่งที่ตัวเองขาดแคลน...หรือสิ่งที่เราไม่มี...และสิ่งที่เราไม่มีนั้นมากมายเหลือเกิน เอาสองความคิดมารวมกันได้ว่า .....การท่องเที่ยว คือการแสวงหาความรู้ในสิ่งที่ตนเองขาดแคลนหรือไม่มี....
คนรวยพันล้านมีเงิน กินมากอ้วนอุ้ยอ้ายเหมือนซูโม่ ไม่สามารถจะมาปีนปราสาทนครวัดได้อย่างแน่นอน กินจนอ้วนแต่หมดแรงปีนป่าย แม้จะมีเงินทองมากมายก็หมดสิทธิ์ จึงว่า ให้พอใจในสิ่งที่ตนเองมี คนทำนาตากแดดทั้งวัน อาจได้สุขภาพดีกว่าพวกอยู่ในห้องแอร์ พวกชอบเลาะไปตามโลกกว้างทางไกลเหมือนคณะท้าวไซยคำเลาะก็จะได้ประสบการณ์จริงที่คนอื่นๆ ไม่มีโอกาส
ฉนั้นโลกนี้จึงพร่องอยู่เป็นนิจ การท่องเที่ยวเลาะไปในโลกกว้างแล้วนำเอาประสบการณ์ที่ได้มานำเสนอสิ่งที่คนอื่นไม่มีโอกาส โดยเฉพาะปราสาทขอมแห่งนครวัดและอื่นๆ ในเสียมเรียบนี้ แค่นำเสนอประวัติศาสตร์ ที่มาก็น่าสนใจแล้ว ไม่นับสิ่งที่ลี้ลับ ที่ยังไม่เปิดเผยอีกมากมาย ยิ่งน่าสนใจเข้าไปใหญ่ นี่แหละคือเหตุผล ที่สี่พยัคฆ์คำเลาะต้องมาเจาะเสียมเรียบคราวนี้
การท่องเที่ยว คือการแสวงหาสิ่งที่ตัวเองขาดแคลน...หรือสิ่งที่เราไม่มี...และสิ่งที่เราไม่มีนั้นมากมายเหลือเกิน เอาสองความคิดมารวมกันได้ว่า .....การท่องเที่ยว คือการแสวงหาความรู้ในสิ่งที่ตนเองขาดแคลนหรือไม่มี....
คนรวยพันล้านมีเงิน กินมากอ้วนอุ้ยอ้ายเหมือนซูโม่ ไม่สามารถจะมาปีนปราสาทนครวัดได้อย่างแน่นอน กินจนอ้วนแต่หมดแรงปีนป่าย แม้จะมีเงินทองมากมายก็หมดสิทธิ์ จึงว่า ให้พอใจในสิ่งที่ตนเองมี คนทำนาตากแดดทั้งวัน อาจได้สุขภาพดีกว่าพวกอยู่ในห้องแอร์ พวกชอบเลาะไปตามโลกกว้างทางไกลเหมือนคณะท้าวไซยคำเลาะก็จะได้ประสบการณ์จริงที่คนอื่นๆ ไม่มีโอกาส
ฉนั้นโลกนี้จึงพร่องอยู่เป็นนิจ การท่องเที่ยวเลาะไปในโลกกว้างแล้วนำเอาประสบการณ์ที่ได้มานำเสนอสิ่งที่คนอื่นไม่มีโอกาส โดยเฉพาะปราสาทขอมแห่งนครวัดและอื่นๆ ในเสียมเรียบนี้ แค่นำเสนอประวัติศาสตร์ ที่มาก็น่าสนใจแล้ว ไม่นับสิ่งที่ลี้ลับ ที่ยังไม่เปิดเผยอีกมากมาย ยิ่งน่าสนใจเข้าไปใหญ่ นี่แหละคือเหตุผล ที่สี่พยัคฆ์คำเลาะต้องมาเจาะเสียมเรียบคราวนี้
เมื่อมาถึงทางขึ้นสะพานสายรุ้งหรือสะพานนาคราช เจ้าหน้าที่ของการท่องเที่ยวเขมรก็ต้องทำหน้าที่ตรวจตั๋ว ตั๋วเข้าชมปราสาทขอมที่นี่รู้สึกว่าเข้าท่าดี เพราะมีการถ่ายรูปหน้าเราลงไปในบัตรแล้วปริ๊นให้เป็นที่ระลึกด้วย เจ้าหน้าที่ตรวจดูหน้าตาที่ดูดีของคณะเราแล้วจะทำการเจาะรู ๑ รู แสดงว่าใช้งานไปแล้ว ๑ วัน วันละรูว่างั้นเถอะ การบริการเป็นกันเองดี ต้องถ่ายรูปเป็นที่ระลึก บางคนก็แอคชั่นท่าทางดูสนุกสนานกันเอง
จากนั้นเราก็ต้องรีบเดินไปข้างในผ่านสะพานสายรุ้งเข้าไปซุ้มประตู หรือ โคปุระชั้นแรก ความเข้าใจว่าเรามาแต่เช้า ขอโทษทีครับ นักท่องเที่ยวชาติอื่นๆ ยิ่งตื่นก่อนเราและมารวมพลกันก่อนแล้ว และอีกหลายท่านก็กำลังเดินเข้าไปพร้อมกันกับเราด้วย บางกลุ่มก็เดินสวนออกมาแล้วก็มี แสดงว่ามาตั้งแต่ดึกมาก หรือไม่หลับนอนกันหรือไงก็ไม่รู้
ที่โคปุระชั้นแรก เหลือบตาเห็นสาวงามอัปสรายืนยิ้มรอรับคณะเราอดใจไม่ได้ที่จะกดชัตเตอร์ไว้สักรูป ถือว่าเป็นการต้อนรับจากสาวอัปสรา จริงๆ แล้ว มีคาถาจากน้องนางอัปสราเหล่านี้นะ ใครสนใจไปเปิดดูในบล็อคยันต์และคาถา เอาลงไว้ให้แล้ว
เราเดินมาทันสุริยะเทพตะวันกำลังจะขึ้นมาเปล่งประกายรัศมีอ่อนโยนละมุนละไมสายลมพัดอ่อนออดอ้อนมาโลมไล้ผิวกายยามเช้าเช่นนี้ ดูมีพลังกาย พลังใจที่สอาดบริสุทธิ์ นี่หละมั้งเข้าเรียกว่า พลังธรรมชาติ หรือ ปราณแห่งจักรวาล
หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ ท่านเมตตาสอนให้ฤาษีบางตนนานแล้วว่า การให้ปราณคือการให้ชีวิต การมารับปราณแห่งจักรวาลในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ยิ่งใหญ่ของมหาคุรุศาตราจารย์แห่งโลกของชาวขอมผู้เป็นมหาปราชณ์ที่มากด้วยมวลสรรพศาสตร์ทุกสาขา มาหลอมรวมกันกำหนดสร้างมหาเทวสถานจำลองเป็นวิมานแห่งมหาเทพตรีมูรติแห่งนี้ หากแม้นใครเปิดจิตใจและรู้วิธีรับพลังแห่งการหลอมรวมพลังปราณบริสุทธิ์นี้เข้ามาผสานกายและจิตของตนเองได้ ถือว่าท่านมาที่นี่ได้กำไรอย่างมากมายในทุกด้าน เรื่องนี้รู้ได้เฉพาะตน ไม่อยากกล่าวที่นี้ เดี๋ยวผู้อ่านเกิดคิดไปเป็นอื่นจะบาปกรรม
อย่างไรก็ตามจะด้วยเหตุผลกาลเวลาใดก็แล้วแต่ การมาดูปราสาทนครวัดแห่งนี้ก็สวยงามในทุกแง่มุมทุกกาลเวลาเสมอ จะมีเรื่องราวเรื่องเล่า เป็นตำนานที่สืบต่อมา หรือ เราจะเป็นผู้สร้างเรื่องราว ตำนานและประวัติศาสตร์เองก็ย่อมได้
สังเกตนักท่องเที่ยวที่มารวมกันที่แห่งนี้ เขาเรียกว่า สำเนียงบอกภาษากิริยาบอกสกุลจริงๆ บางชาติก็ถ้อยทีถ้อยอาศัย บางชาติก็เห็นแก่ตัว บางชาติก็ดูหยิ่งๆ แต่พี่ไทยเราไปที่ไหนก็พูดคุยกันดีมาก
หลังจากการถ่ายรูปและซึมซับเอาบรรยากาศแห่งทุกความรู้สึกของแต่ละผู้คนในช่วงเวลาที่ผ่านไปอย่างมีความหมายแล้ว ความรู้สึกแห่งมวลมิตรภาพที่ดีงามไหลหลั่งพรั่งพรูออกมาอย่างเต็มจิตเต็มใจ รู้ได้เลยว่า ความดี ความรักเมตตา ความปรารถนาของจิตวิญญาณบริสุทธิ์แห่งจักรวาลไหลหลั่งพร่างพรายลงมาในทุกอณูธาตุแห่งปราณจักรวาลสะอาดสดใสชื่นบานจากวิหารแห่งมหาเทพนครวัดที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้
เมื่อความอิ่มจิตตื้นตันใจเปี่ยมล้นพอแล้ว คณะของเราจำต้องพากันไปเสริมพลังงานทางกายให้เปี่ยมล้นตามไปด้วยเพื่อการเจาะเสียมเรียบคราวนี้จักได้มีแต่องค์ความรู้ที่ยิ่งใหญ่กลับไปสยามประเทศ
สารถีอะเล็คพาเราไปที่ร้านอาหารเช้าใกล้ๆ ชื่อร้าน Bopha Angkor เห็นแต่ชื่อร้านก็อร่อยแล้ว ไม่นับสาวเสริฟสวยเอาใจเก่งต่างหาก เราทานข้าวต้ม ก๊วยเตี๋ยว อาหารฝรั่ง อื่นๆ มีมากมายตามใจลูกค้าทุกชนชาติ ไม่ลืมปิดท้ายด้วยกาแฟรสชาติเยี่ยมอร่อยใช้ได้เลยหละ
สารถีอะเล็คพาเราไปที่ร้านอาหารเช้าใกล้ๆ ชื่อร้าน Bopha Angkor เห็นแต่ชื่อร้านก็อร่อยแล้ว ไม่นับสาวเสริฟสวยเอาใจเก่งต่างหาก เราทานข้าวต้ม ก๊วยเตี๋ยว อาหารฝรั่ง อื่นๆ มีมากมายตามใจลูกค้าทุกชนชาติ ไม่ลืมปิดท้ายด้วยกาแฟรสชาติเยี่ยมอร่อยใช้ได้เลยหละ
เมื่อสองสามปีที่แล้วตอนมาเสียมเรียบงานปฎิบัติการอีราโตสทีเนส คู่ขนานกับปราสาทภูเพ็กครานั้นก็ซื้อกาแฟกลับเมืองสกลนคร รู้สึกว่ากาแฟเขมรอร่อยลิ้นดีมาก มีกลิ่นหอมเจือเหมือนของเวียตนามแต่อ่อนกว่า แต่กาแฟลาวก็สุดย้อดเหมือนกัน ใครเป็นคอกาแฟอย่าลืมหนีบติดมือกลับเมืองไทยแล้วลองดื่มเปรียบเทียบกัน ไม่ผิดหวัง ที่เขียนเชียร์กาแฟเขมรนี่ต้องการให้การท่องเที่ยวเขมรมาเชิญไปชมปราสาทขอมใหม่นะนี่ ฮาฮาฮา
(สนใจปฎิบัติการณ์อีราโตสทีเนส ชมที่นี่ครับhttp://www.yclsakhon.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539243016)
หลังทานอาหารเช้าเสร็จแล้ว คณะสี่พยัคฆ์คำเลาะก็พร้อมจะปฎิบัติการเข้าไปชมและศึกษาค้นคว้าในปราสาทนครวัด ตกลงกันเป็นเบื้องต้นว่า ถ่ายรูปให้มากที่สุด ถ่ายหนังให้มากที่สุด แล้วเอาข้อมูลมาแชร์กันในกลุ่มทีหลัง โดยประสบการณ์แต่ละคนแล้ว มีความสนใจในองค์ปราสาทไม่ใช่แบบผิวเผิน แต่ละคนมีมุมมองแตกต่างกัน หากใครที่สงสัยก็สอบถามกัน และอาจวิเคราะห์สอบถามประวัติศาสตร์ที่มา คาดคะเน หลายแง่มุม โดยประสบการณ์ที่เป็นไกด์มานานหลายปีของท้าวไซย สิ่งที่อยู่เบื้องหลังของโปรแกรมการท่องเที่ยว มักจะมีเรื่องราวที่ซ่อนเร้นอยู่เสมอ เราจึงต้องมาตั้งสติมองรหัสลับที่เห็นตรงหน้าให้ออก และจะได้องค์ความรู้ใหม่ขึ้นมาประเทืองสติปัญญาของตนเอง
ประวัติข้อมูลคร่าวๆ ของนครวัด
เนื่องขจากไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านนี้ ท้าวไซยก็เปิดไปดูที่วีกีพิเดีย คว้าข้อมูลนั้นมาหมดทั้งดุ้นโดยไม่ปรุงแต่ง ดังนี้
นครวัด (เขมร: អង្គរវត្ត) เป็นศาสนสถานตั้งอยู่ในเมืองพระนคร จังหวัดเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา สร้างในรัชสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 12 โดยเป็นศาสนสถานประจำพระนครของพระองค์ ตัวเทวสถานได้รับการอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดี จนเป็นศูนย์กลางทางศาสนาที่สำคัญเพียงแห่งเดียวที่ยังเหลือรอดมาจนถึงปัจจุบันนับตั้งแต่ก่อสร้างแล้วเสร็จ แต่เดิมนครวัดเป็นเทวสถานของศาสนาฮินดู ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อถวายแด่พระวิษณุ ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นศาสนาพุทธ
นครวัดเป็นสิ่งก่อสร้างทางศาสนาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของโลก ตัวเทวสถานถือเป็นที่สุดของสถาปัตยกรรมเขมรสมัยคลาสสิกรุ่งเรือง และได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของประเทศกัมพูชา โดยปรากฏในธงชาติ และเป็นจุดท่องเที่ยวหลักของประเทศ ตลอดจนได้รับลงทะเบียนเป็นมรดกโลกภายใต้ชื่อ เมืองพระนคร
ปราสาทนครวัดได้เริ่มสร้างในกลางพุทธศตวรรษที่ 17 ในรัชสมัยของ พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 เพื่อบูชาแด่พระวิษณุหรือ พระนารายณ์
ในปี พ.ศ. 1720 ชาวจามได้บุกรุกขอม ทำให้พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ต้องย้ายเมืองหลวงไปที่เมืองนครหลวง หรือ เสียมราฐ ในปัจจุบัน หลังจากนั้น พระองค์จึงสร้างเมืองนครธม และ ปราสาทบายน ห่างจากปราสาทนครวัดไปทางเหนือ เพื่อเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ของชาวขอม
ในปี ค.ศ. 1586 (พ.ศ. 2129) ได้มีนักบวชจากโปรตุเกส นามว่า อันโตนิโอ ดา มักดาเลนา เป็นชาวตะวันตกคนแรกที่ได้ไปเยือนปราสาทนครวัด
แต่ที่จะถือว่าเป็นการเปิดประตูให้แก่ปราสาทนครวัดสู่สายตาชาวโลกนั้น คือการค้นพบของ อองรี มูโอต์ นักสะสมแมลงและนักสำรวจชาวฝรั่งเศส เมื่อประมาณร้อยกว่าปีที่แล้วมา ที่จริงชาวกัมพูชาไม่เคยละทิ้งนครวัดไปเพราะหลังจากมีการย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่พนมเปญแล้ว ชาวบ้านก็ได้เขาไปตั้งรกรากภายในเขตนครวัดเรื่อยมา ปราสาทนครวัดเป็นสิ่งก่อสร้างในยุคสิ้นสุดของราชอาณาจักรขะแมร์ โดยมีหินทรายเป็นวัสดุก่อสร้างหลัก
![]() |
อองรี มูโอต์ |
ปราสาทนครวัดมีขนาดใหญ่มากถึง 200,000 ตารางเมตร สูง 60 เมตร ยาว 100 เมตร กว้าง 80 เมตร ปราสาท 5 หลังตั้งอยู่บนฐานสูงตามคติของศูนย์กลางจักรวาล กำแพงด้านนอกยาว 1.5 กิโลเมตร มีคูน้ำล้อมรอบตามแบบ มหาสมุทรบนสวรรค์ที่ล้อมรอบเขาพระสุเมรุ
ใช้หิน 600,000 ลูกบาศก์เมตร ใช้ ช้างกว่า 40,000 เชือก แรงงานคนนับแสนขนหิน จากเขาพนมกุเลน ชึ่งอยู่ห่างออกไปกว่า 50 กิโลเมตร
มีเสา 1,800 ต้น หนักต้นละกว่า 10 ตัน เวลาสร้างร่วม 100 ปี ช่างแกะสลัก 5,000 คน และใช้เวลาถึง 40 ปี
หอสูง 60 กว่าเมตรศูนย์กลางของกลุ่มปราสาท อันเปรียบเสมือนศูนย์กลางของจักรวาลนั้น มีทางเดินขึ้นที่ชันมาก ราว 50 องศา แต่ก็กลับเป็นจุดสำคัญที่นักท่องเที่ยวทุกเพศทุกวัยจะต้องปีนขึ้นไปและไต่ลงมา ที่จุดบนสุดของหอนี้จะมองเห็นวิวที่สวยสุดของปราสาท


ทางด้านกำแพงชั้นนอกรอบปราสาทนั้น มีความยาวกว่า 800 เมตร มีงานแกะสลักเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 และเรื่องราวจากวรรณคดีเรื่อง รามายณะ รูปแกะสลักที่มีชื่อที่สุดก็คือรูปที่เทวดากับอสูรกวนเกษียรสมุทรด้วยเขาพระสุเมรุ และยังมีรูปแกะสลักนางอัปสรอีกถึง 1,636 นาง ที่ทั้งหมดมีเครื่องแต่งกายและทรงผมไม่ซ้ำกันเลย https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94)




สำหรับมุมมองของท้าวไซยคำเลาะ ผู้น่ารักและมักเลาะแล้ว ในฐานะที่ได้ย่ำป่าหาแหล่งตัดหิน เข้าไปนอนในป่า และใช้เวลาบางช่วงของชีวิตในการค้นคว้าปราสาทภูเพ็กที่สกลนครมานานหลายปี หลากหลายเรื่อง หลายอย่างที่ค้นคว้าองค์ความรู้มาได้ เมื่อเอามาเปรียบเทียบกับประสาทนครวัดและอื่นๆ ที่เสียมเรียบแล้ว มีหลายอย่างที่ควรพิจารณาเพื่อจะได้เป็นแนวทางในการศึกษาค้นคว้าสำหรับ ผู้ชอบเดินทางแสวงหาความรู้ที่แท้จริงต่อไปดังนี้
๑.วัสดุสร้างปราสาท การตัดหินมาสร้างปราสาทเป็นเรื่องใหญ่มาก เหตุผลเพราะว่าเป็นหัวข้อใหญ่ของหัวข้อปลีกย่อยอื่นๆ
๑.๑ ชนิดของหิน ท้าวไซยเชื่อโดยสนิทใจว่า เมืองเสียมเรียบต้องมีภูเขามากมายและหินในการสร้างปราสาทก็ย่อมมากตามเช่นกัน แต่ประเด็นอยู่ที่ว่า ทำไมต้องเลือกใช้หินทราย เอาหินชนิดอื่นได้ หรือไม่ ถ้าให้คาดคะเน ที่ต้องใช้หินทรายเพราะว่าเป็นคุณสมบัติของหินที่แตกต่างจากชนิดอื่น หินลูกรังก็ตัดได้แต่มักผุกร่อนเข้ารูปไม่สนิท หากพิจารณาตามเครื่องมือสมัยนั้นแล้ว คงไม่มีเครื่องจักรอัตโนมัติแน่นอน หินทรายมีเนื้อแน่นจับกันได้ดีเป็นหินที่น่าจะขึ้นรูปได้ง่ายกว่าหินชนิดอื่นๆเพราะจะได้ขนาดรูปร่างที่ตรงตามกำหนดในแบบ




๑.๒ เมื่อกำหนดว่าเป็นหินทรายแล้ว สิ่งที่ตามมา คือ การสำรวจว่าแหล่งหินทรายนั้นอยู่สถานที่ใด ใกล้ไกลเพียงใด การเคลื่อนย้ายจะเคลื่อนย้ายด้วยวิธีใด แสดงว่า สถานที่รอบๆ ปราสาทนครวัด ไม่มีแหล่งตัดหินทรายเหมือนพนมกุเลนใช่หรือไม่ ระยะทางจากพนมกุเลนมาที่ปราสาทนครวัด ๕๐ กม.(ยังไม่เคยไปดู) สมัยก่อนจะเคลื่อนจะยกจะย้ายหินหนักเป็นตันๆ คงต้องมีวิธีการดีรัดกุมพอสมควรทีเดียว
๑.๓ การตัดหิน สมัยนั้นชาวขอมใช้วิธีการใดในการตัดหินให้ขาดออกจากกัน เท่าที่เคยสำรวจร่องรอยการตัดหินจากบริเวณรอบปราสาทภูเพ็ก สกลนครมาหลายปี อยากคุยว่า เดินย่ำไปทุกที่มาแล้ว การตัดหินชาวขอมคงใช้เครื่องมือโลหะมาตัดหิน แต่หินที่ตัดนั้นต้องเป็นหินที่อ่อน คืออาจใช้น้ำบ่มให้เนื้อหินชุ่มน้ำ ผิวของเนื้อหินทรายที่ตากแดดตากลมนานๆ ก็แข็งมากเหมือนกัน หินทรายที่ขุดขึ้นมาใหม่จะเนื้ออ่อนสดวกง่ายในการตัด ร่องหินที่ตัดนั้นจะมีขนาดใหญ่พอสมควรเป็นคืบหรือใหญ่กว่านั้น การตัดต้องตัดใต้น้ำเพื่อไม่ให้เศษหินกระเด็นมาถูกผู้ตัด ร่องรอยการตัดจะเป็นตัวบอกชนิดของเครื่องมือ เท่าที่ค้นคว้ามาเป็นแท่งเหมือนสกัดใช้ค้อนตอก หรือเหมือนเหล็กชะแลงกระทุ้งลงไป และเหมือนขวานเหวี่ยง



๑.๔ เมื่อตัดหินเสร็จแล้ว ผิวของหินที่สะกัดออกมานั้น ไม่ได้เรียบร้อยเหมือนกระจก แต่มีลักษณะขรุขระ การจะเข้าหินให้ผิวสัมผัสแนบสนิทกันนั้น ต้องใช้ การขัดผิวให้เรียบ การขัดผิวให้เรียบนั้นก็เป็นอีกงานหนึ่งที่ต้องมีวิธีการ คิดว่าสมัยนั้นชาวขอมคงไม่มีหินเจียระไน แล้วเขาใช้วิธีการใดถึงทำให้ผิวที่ประกอบต่อกันนั้นแนบสนิทแทบไม่มีแสงลอดออกมาเลย
๑.๕ การที่หินแต่ละก้อนถูกตัดออกมาให้มีขนาดที่เหมาะสมลงตัวในขนาด รูปร่าง ความละเอียด เป็นไปได้หรือไม่ว่าหินเหล่านี้ ถูกกำหนดขนาดหินมาแล้ว หมายถึงว่า ปราสาทขอมแต่ละหลังมีแบบพิมพ์เขียวกำหนดออกมาแล้ว ผู้กำกับหรือโฟร์แมนดูแลแต่ละไซด์งานก็กำหนดขนาดให้ช่างทำตามแบบ
๑.๖ คราวนี้เรื่องใหญ่ เพราะเมื่อกำหนดขนาดในพิมพ์เขียวออกมาแล้ว การวัดขนาดในแบบงาน หรือปฎิบัติงาน หน่วยวัดเป็นอะไร นิ้ว ฟุต เซ็นติเมตร คืบ ศอก หลา หรือ อะไร
เอาหละเมื่อได้หินมาแล้ว เรื่องใหญ่ต่อไป คือ
๒.การก่อสร้าง คิดเอาง่ายๆ สำหรับคนสมัยปัจจุบันนี้ การจะสร้างบ้านสักหลังยังต้องคิดก่อสร้างด้วยวิธีการที่ทำอย่างไรจะให้บ้านแข็งแรง สวยงาม คงทน ดูดีมีศิลปะ ถูกต้องตามความเชื่อ
ฐานรากของปราสาทนี้มีหรือไม่ ถ้ามีถามว่า เอาอะไรมาทำฐานราก ตอกเสาเข็มหรือ เอาเสาเข็มแบบนอน เสาเข็มนั้นใช้ไม้หรือหินมาตอก หรือมาวางเรียง การวางฐานรากนั้นต้องขุดดินลงไปให้ลึกขนาดไหน วางฐานรากเป็นรูปทรงอย่างไร ใช้เครื่องมืออะไร ยกเคลื่อนย้ายวางหินให้ลงตัวได้ขนาดนั้น การเจาะรูล๊อคเสาแต่ละต้นให้ตรงตำแหน่งทำอย่างไร อย่าบอกว่าคนสมัยนั้นตัวใหญ่เท่ายักษ์มีแรงมากนะ อื่นๆ การใช้ช้างมาลาก ดึก ขน ยกหิน ต้องมีพื้นเอียง รอก เลื่อน เชือก วิธีการ เหล่านี้ทำอย่างไร หรือสมัยก่อนมีรถเครน รถแบล็คโฮลแล้ว การต่อประสานหิน การตอกเข้าลิ่มขัดเบ่ง การยึดหินแต่ละก้อน การทำให้หินเบ่งอัดตัวดึง ดัน ขัด กัน วิธีการเหล่านี้มีสอนในโรงเรียนหรือไม่ นี่เป็นเรื่องที่น่าสนใจอย่างยิ่ง
๓.การออกแบบ จริงอยู่ที่การออกแบบอิงคติความเชื่อเกี่ยวกับเทพพรหม เขาพระสุเมร แต่ใครหละเป็นผู้ออกแบบผังปราสาทเหล่านี้ หรือวิชาการออกแบบปราสาทนี้ จะมีโรงเรียนสอนเป็นพิเศษเฉพาะทาง แล้วอาจารย์ที่สอนหรือออกแบบนั้นท่านเรียนศาสตร์เหล่านี้มาจากไหนกัน ใครเป็นผู้สอน มีตำราหรือไม่ นี่เป็นเรื่องสำคัญที่ควรศึกษาค้นคว้าอย่างมาก
๔.การแกะสลักลวดลาย ในองค์ปราสาทมีรูปที่แกะสลักมากมายที่เหมือนกันและต่างกันก็มีเยอะ เอาช่างที่มีฝีมือในการแกะลวดลายมาจากไหน ลวดลายเหล่านี้ ใครเป็นผู้ออกแบบว่าควรจะเลือกรูปนี้ วางตำแหน่งตรงนี้ การจะให้คนแกะสลักที่แกะไปตามแบบดูจะไม่ใช่ ช่างแกะต้องมีศิลปะชั้นครูทีเดียว แต่ละรูปออกมานั้นเหมือนมีชีวิตจิตใจอย่างมาก
๕.พิธีกรรมทางด้านจิตวิญญาณ
ในการก่อสร้างบ้านหรือสิ่งปลูกสร้างสมัยนี้ก็เถอะ ยังต้องหาพราหมณ์มาสูด ทำพิธีกรรมร่ายมนตราคาถาอาคม พิธีกรรมนั้นมีอย่างไร รูปแบบไหน มีฆ้องกลอง มโหรีขับเพื่อปลุกเร้าอารมณ์ถวายองค์มหาเทพหรือไม่ เหล่านี้ ดูเป็นเรื่องที่น่าคิดติดตามค้นคว้าอย่างยิ่ง
๖.ทำเลที่ตั้ง ใครเป็นผู้เลือกสถานที่ตั้งขององค์ปราสาท ทำเลนั้นเมื่อเรามองจากทุกมิติจะเห็นปราสาทแต่ละหลังลงตัวกันอย่างยิ่ง ไม่ว่าเราจะไปยืนอยู่มุมใด เมื่อมองไปโดยรอบจะเห็นความสวยงามอลังการณ์ ภูมิทัศน์ที่รับกันทุกอย่าง เอาแค่เงาปราสาทสะท้อนลงผิวน้ำก็สวยงามไม่รู้จะบรรยายอย่างไร ผู้ที่เลือกทำเลที่ตั้งต้องเก่งและเชี่ยวชาญในทุกศาสตร์ หรือคณะผู้วางผังปราสาทจะต้องเป็นทีมงานคณะราชครูพราหมณ์ที่ช่วยกันออกแบบอย่างพิถีพิถัน แน่นอนว่าต้องมีบารมีมากมายอย่างยิ่งที่ทำสิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่ งดงาม ลวดลายอ่อนช้อยมีชีวิตชีวา ขนาดนี้
การก่อสร้างปราสาทแต่ละหลังใช้เวลานานหลายสิบปี ผู้ที่ออกแบบมาสเตอร์แพลนนี้ต้องเก่งมากๆ สงสัยว่าท่านเหล่านี้ได้องค์ความรู้มาจากไหน ใครสอน และคำถามอื่นๆ มากมาย ???????
สรุปว่า น่าอัศจรรย์ใจอย่างยิ่ง สมแล้วที่นักวิชาการฝรั่งบอกว่า ให้มาเห็นกับตาแล้วค่อยตาย
ในการมาที่ปราสาทนครวัดครานี้ มีโอกาสดีที่ได้ทำการกราบไหว้พระพุทธรูปในทิศทั้ง ๔ มีพิธีกรรมทางความเชื่อที่ดูเหมือนเล็กน้อย แต่ยิ่งใหญ่มากในโลกวิญญาณ มีการเดินจงกรมรอบองค์ปราสาทในชั้นสูงสุดของปรางค์องค์กลาง มีการนั่งสมาธิกรรมฐานทำจิตใจให้สงบ มีการนั่งภาวนาบริเวณที่เจ้าหน้าที่เรียกว่าเป็นบ่อน้ำให้องค์กษัตริย์และบริวารชำระสะสงร่างกายก่อนทำพิธีกรรม นับดูรูปสลักปู่ฤาษีได้ ๑๑๐ ตน แทนที่จะเป็น ๑๐๘ ตน
ถ้าถามความรู้สึกระหว่างที่อยู่บนปราสาทนครวัด อยากจะบอกว่า เปี่ยมล้นด้วยพลังแห่งปราณบริสุทธิ์ที่พรั่งพรูออกมาไม่รู้จบสิ้น เป็นพลังแห่งจักรวาลที่มหาครุแห่งสรรพศาสตร์ขอมโบราณท่านได้สร้างขึ้นมาเพื่อเพิ่มพูนให้ผู้ที่เกี่ยวเนื่องได้มารับรู้สัมผัส จิตใจที่โศกเศร้าจักได้ผ่อนคลาย ทุกข์ใจกายจักได้เจือจางหมดไป หนทางชีวิตดำเนินราบรื่นไร้อุปสรรค
ฤาษีกล่าวไว้ว่า หากใครได้มาที่นี่ ถือว่าอดีตกาลได้เคยเกิดในสถานที่นี้ ไม่ภพใดก็ภพหนึ่ง การมาที่นี่เท่ากับการมาย่ำย้ำซ้ำรอยวงจรแห่งวัฎฎะจนกว่าจะหมดซึ่งกรรมผูกพันจากอดีต
ท้าวไซยกับคณะก็คิดเช่นนั้น จึงอยากขอเชิญชวนว่าสักครั้งในชีวิตของท่านควรจะมาให้รู้เห็นกับตา ส่วนคณะสี่พยัคฆ์คำเลาะต่างมีสัญญาใจกันว่า เราจะกลับมาเจาะเสียมเรียบอีกอย่างแน่นอน...ในอนาคตอันใกล้นี้....
คราวนี้จะเห็นเป็นเรื่องราวที่มีมุมมองต่างออกไปแบบลึกซึ้งกว่าเดิม.....เราต่างคิดเห็นเช่นนั้น
ก่อนออกมาจากปราสาทนครวัดเพื่อหาอาหารเที่ยงและน้ำดื่มตอนช่วงกลางวัน สายตาเหลือบมองเห็นนางอัปสร หรืออัปสรา ยืนยิ้มส่งสายตาหวานมาให้ เลยส่งจดหมายน้อยไปหาเธอ
ยิ้มยิ้มส่งรอยยิ้ม เพียงใจ
หวานหวานมาไกลไกล จากน้อง
ฉ่ำฉ่ำเยิ้มจากใด นวลเจ้า
วูบวูบใจหล่นร้อง เรียมครุ่นคนึง
..............
บุญที่เกิดจากการเขียนหนังสือนี้
หากท่านใดอยู่ต่างประเทศ หรือในประเทศคอมเม็นซ์มา
ขอให้เป็นมหาบุญมหากุศล น้อมถวายพ่อหลวงตลอดไป ไม่จบสิ้น..
หากท่านใดอยู่ต่างประเทศ หรือในประเทศคอมเม็นซ์มา
ขอให้เป็นมหาบุญมหากุศล น้อมถวายพ่อหลวงตลอดไป ไม่จบสิ้น..
ไม่นึกว่าจะไปขัดจังหวะท้าวไซยโดยไม่รู้ตัว เลยไม่ได้นางอัปสรเลยสักนาง คราวหน้าเอาใหม่นะ ท้าวไซย. เขียนบรรยายได้ชวนติดตามดีมาก
ตอบลบ