“นครวัด”หรือ “Angkor Wat”
1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคปัจจุบัน
สร้างขึ้นในสมัย“พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2”
(ครองราชย์ พ.ศ.1655-1693)
ซึ่งใช้เวลาถึง 37 ปี(พ.ศ.1656-1693)
เป็นสถานที่ท่องเที่ยวอันดับหนึ่งของกัมพูชา
ในนครวัดจะมีรูปสลักนางอัปสราซึ่งมีรูปสลักนางอัปสรามากมาย จำนวน ๑๘๐๐ นางนับโดยนักโบราณคดีชาวฝรั่งเศสและชาวเขมรร่วมกันใช้ความพยายาม(อย่างสูง)เมื่อปี ๒๕๔๔
แต่ละนางสวยสดงดงามดั่งสาวสวรรค์ ซึ่งท้าวไซยก็ยังไม่เคยไปสวรรค์ เพราะกลัวว่าไปแล้วจะไม่ได้กลับมา แต่ก็เกิดความสงสัยอย่างมากเหมือนกันว่า นางอัปสรา หรือ นางอัปสร นั้นเป็นใคร มีที่มาอย่างไร ได้ครั้นจะไปนั่งเทียนอ่านสรุปมาก็คงไม่ไหว สมัยนี้ ทางไกล เวลาน้อย งั้นเราไปหาความรู้จากอาจารย์วิ wikipedia ดูว่าอาจารย์จะบอกอะไร
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%9B%E0%B8%AA%E0%B8%A3
อาจารยวิ ได้บอกว่า....
อัปสร หรือ นางอัปสร (สันสกฤต: अप्सराः อปฺสราะ, พหูพจน์ अप्सरसः อปฺสรสะ) ถือเป็นชาวสวรรค์จำพวกหนึ่ง มีเพศเป็นหญิง อาจเรียกว่า นางฟ้า ก็ได้ แต่ไม่ใช่เทวดา มีฐานะเป็นอมนุษย์ บังเกิดขึ้นเมื่อครั้งกวนเกษียรสมุทร เพื่อเอาน้ำอมฤตขึ้นมา ดังความปรากฏในมหากาพย์มหาภารตะ ของอินเดีย
คำว่า "อัปสร" นั้น มาจากคำว่า "อัป" (หมายถึง น้ำ) และ "สร" (หมายถึง การเคลื่อนไป) อัปสร จึงหมายถึง ผู้ที่เคลื่อนไปในน้ำ อันเป็นกำเนิดของนาง ทว่าโดยทั่วไป ถือว่านางเป็นชาวสวรรค์
ในเรื่องเล่าของอินเดียมีการกล่าวถึงนางอัปสรไว้มากมาย นับว่าเป็นตัวละครที่สำคัญตัวหนึ่งในตำนานของอินเดีย ไม่น้อยไปกว่าเทพเจ้าและชาวสวรรค์อื่นๆ
ตามตำนานของฮินดู กล่าวว่าพระพรหมทรงสร้างนางอัปสรขึ้น และเป็นนางบำเรออยู่ในราชสำนักของพระอินทร์ ในคัมภีร์นาฏยศาสตร์ ได้กล่าวถึงนางอัปสรที่สำคัญไว้หลายตนด้วยกัน เช่น มัญชุเกศี, สุเกศี, มิสรเกศี, สุโลจนะ, เสาทมิณี, เทวทัตตะ, เทวเสนะ, มโนรม, สุทาติ, สุนทรี, วิคัคธะ, วิวิธ, พุธ, สุมล, สันตติ, สุนันทา, สุมุขี, มาคธี, อรชุนี, สรลา, เกระลา, ธฤติ, นันทา, สุปุษกลา, สุปุษปมาลา และ กาลภา
นางอัปสรมีอำนาจแปลงกายได้ ทั้งยังมีความสามารถในการขับร้องและเต้นรำเป็นอย่างยิ่ง ในราชสำนักของพระอินทร์มีนางอัปสรอยู่ 26 ตน แต่ละตนมีความสามารถในเชิงศิลปะต่างๆ กัน เทียบได้กับตำนานมูเซ (muse) ของกรีกโบราณ
นอกจากนี้ยังมีตำนานกล่าวต่อไปว่า นางอัปสรนั้นเป็นชายาของคนธรรพ์ ซึ่งเป็นนักดนตรีในสวรรค์ โดยนางจะเต้นรำไปตามจังหวะดนตรีที่สามีของตนบรรเลง โดยทั่วไปมีความเชื่อว่านางอัปสรเป็นเครื่องหมายแห่งความเจริญงอกงาม แต่บางถิ่นก็เชื่อว่าอัปสรมีอำนาจแห่งความชั่วร้ายอยู่ด้วย
ในปราสาทนครวัดของกัมพูชา มีการสลักภาพนางอัปสรไว้มากมาย โดยที่แต่ละรูปมีใบหน้า ท่าทาง และการแต่งกายที่แตกต่างกันไป
นอกจากอาจารย์วิ แล้ว ท้าวไซยยังไปหา อาจารย์แมน ซึ่งอาจารย์แมนก็มอบหมายให้ อาจารย์ปิ่น บุตรี เขียนไว้ตั้งแต่วันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๔๘ ได้ใจความดีมาก ของเอามาบางดุ้น เอามาทุกดุ้นจะยาวไปว่า....
อัปสราผู้ต้องชะตากาม
สำหรับการเกิดของนางอัปสราหรือที่บ้านเรามักเรียกว่า“นางอัปสร”ซึ่งรัชกาลที่ 6 ทรงแปลความแบบตรงตามศัพท์ไว้ว่าหมายถึง“นางผู้กระดิกอยู่ในน้ำ”นั้น ส.พลายน้อย ได้เล่าไว้ในหนังสือเรื่อง“อมนุษยนิยาย”ว่า เหล่านางอัปสราที่เกิดมาล้วนแต่เป็นนางฟ้าหรือเทพธิดาผู้เลอโฉมที่แต่งองค์ทรงเครื่องอย่างงดงาม
แต่อนิจจา...นางอัปสราที่เกิดขึ้นมาตามตำนานที่ ส.พลายน้อยเล่า ถือว่าเป็นนางฟ้าที่โชคร้ายเป็นอย่างยิ่ง เพราะพวกนางถูกกล่าวหาว่าเป็นหญิงที่ไม่เคยรักใครจริงจัง ชอบเปลี่ยนคู่นอนไปเรื่อยๆซึ่งก็คล้ายๆกับดาราในบ้านเราบางคน ทำให้เหล่าเทวดาและอสูรจึงเห็นนางอัปสราเป็นแค่นางบำเรอกามที่มีไว้เพื่อช่วยให้เสร็จสมอารมณ์หมายเท่านั้น
สำหรับการเกิดของนางอัปสราหรือที่บ้านเรามักเรียกว่า“นางอัปสร”ซึ่งรัชกาลที่ 6 ทรงแปลความแบบตรงตามศัพท์ไว้ว่าหมายถึง“นางผู้กระดิกอยู่ในน้ำ”นั้น ส.พลายน้อย ได้เล่าไว้ในหนังสือเรื่อง“อมนุษยนิยาย”ว่า เหล่านางอัปสราที่เกิดมาล้วนแต่เป็นนางฟ้าหรือเทพธิดาผู้เลอโฉมที่แต่งองค์ทรงเครื่องอย่างงดงาม
แต่อนิจจา...นางอัปสราที่เกิดขึ้นมาตามตำนานที่ ส.พลายน้อยเล่า ถือว่าเป็นนางฟ้าที่โชคร้ายเป็นอย่างยิ่ง เพราะพวกนางถูกกล่าวหาว่าเป็นหญิงที่ไม่เคยรักใครจริงจัง ชอบเปลี่ยนคู่นอนไปเรื่อยๆซึ่งก็คล้ายๆกับดาราในบ้านเราบางคน ทำให้เหล่าเทวดาและอสูรจึงเห็นนางอัปสราเป็นแค่นางบำเรอกามที่มีไว้เพื่อช่วยให้เสร็จสมอารมณ์หมายเท่านั้น
เรียกว่าตามตำนานนี้สร้างนางอัปสราให้ดูน่าสงสารกึ่งน่าสมเพชควบคู่กันไป โดยหลายๆคนเชื่อว่านางอัปสราในนครวัดสร้างขึ้นตามความเชื่อนี้ เพราะพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ต้องการสร้างนครวัดให้เป็นดังสวรรค์จำลองถวายแก่พระวิษณุ ด้วยเหตุนี้จึงได้สร้างนางอัปสราขึ้นมาเพื่อเป็นนางฟ้าฟ้อนรำ และนางบำเรอกามแก่เหล่าเทวดาที่อาศัยอยู่บนสรวงสวรรค์(จำลอง)
อัปสราผู้ต้องชะตากรรม
มาดูเรื่องราวของนางอัปสราในอีกหนึ่งคติความเชื่อกันบ้าง
ความเชื่อนี้เชื่อว่านางอัปสราคือนางฟ้าหรือเทพธิดาผู้รับใช้และคอยดูแลศาสนสถาน ซึ่งความเชื่อนี้คล้ายกับความเชื่อของชาวเขมรที่พวกเขาต่างยกย่องนางอัปสราเป็นเทพธิดาผู้ดูแลศาสนสถานและเป็นเทพธิดาแห่งความดีงาม ที่หากใครได้ไปเที่ยวชมนางอัปสราตามปราสาทขอมต่างๆในเขมร ไม่ว่าจะเป็นนครวัด ปราสาทบันทายสรี ปราสาทบายน ฯลฯ ก็ไม่ควรที่จะนำความเชื่อเรื่องนางอัปสราเป็นนางบำเรอกามไปพูดคุยกับคนเขมร เพราะว่าดีไม่ดีอาจมีการต่อยตีกันได้
กลับมาที่ความเชื่อเรื่องนางอัปสราเป็นเทพธิดาผู้ดูแลศาสนสถานกันต่อ เรื่องนี้ถือว่ามีเค้าต่อการสร้างรูปสลักนางอัปสราจำนวนมากมายในนครวัด เพราะพื้นที่ของนครวัดนั้นออกจะใหญ่โต ซึ่งก็ทำให้เหล่าเทพธิดาผู้ดูแลย่อมมีจำนวนมากมายตามไปด้วย
อนึ่งเหล่านางอัปสราที่มีอยู่มากมายและถือเป็นหนึ่งในไฮไลท์ของการเดินชมนครวัดนั้น แต่ละนางถือเป็นงานระดับมาสเตอร์พีซของช่างชาวขอมโบราณที่ไม่มีการสลักหินซ้ำแบบกันแต่อย่างใด ไม่ว่าจะเป็นลักษณะท่าทางที่เป็นอากัปกริยาเฉพาะตัวที่มีการถอดแบบมาเป็น“รำอัปสรา”หรือเรื่องของทรงผมที่มีมากมายหลายทรง ทั้งแสก แหวก เสย เกล้ามวย ผมทรงห่วง 1 ห่วง 2 ห่วง 3 ห่วง ผมชี้ ผมตั้งเด่ ผมทรงเซลล่ามูน และอีกสารพัดทรงจนหลายๆคนยกให้เหล่านางอัปสรานครวัดเป็นเจ้าแห่งแฟชั่นทรงผมนับจากอดีตถึงปัจจุบัน ซึ่งผมไม่แน่ใจว่าเพราะสารพัดทรงผมอันหลากหลายนี้หรือเปล่า ที่ทำให้ร้านเสริมสวยหลายๆร้านในเสียมเรียบนิยมประดับรูปนางอัปสราเอาไว้
อาจารย์ปิ่น บุตรี ยังแบ่งชนิดนางอัปสราออกหลายอย่าง นางอัปสรายิ้มแฉ่ง อยู่แถวซุ้มประตูชั้นแรกก่อนถึงตัวปราสาท ที่ถือเป็น 1 ใน 2 ของนางอัปสราทั้งหมดที่บนใบหน้ามีรอยยิ้ม(แฉ่ง)มองเห็นฟัน ซึ่งช่างที่สลักหินอัปสรานางนี้คงอารมณ์ดีมากสลักหินไปยิ้มไป สุดท้ายเลยใส่รอยยิ้มไปบนใบหน้านางอัปสราด้วย นางอัปสราผ้าหลุด มีอยู่หลายนางแต่ต้องสังเกตกันหน่อย ว่ากันว่าบางทีช่างขอมโบราณอาจตอกหินแรงไปหน่อย หรือไม่ก็เป็นอารมณ์อีโรติกแบบขำขำของช่างขอมโบราณเพราะอัปสราบางนางได้เอามือปิดของสงวนเอาไว้ด้วย นางอัปสราตะปุ่มตะป่ำ มีอยู่ในบางซอกบางมุม เข้าใจว่าไม่ใช่นางอัปสราเป็นโรคเรื้อนอย่างที่ลานพระเจ้าขี้เรื้อนในนครธม แต่น่าจะมาจากช่างขอมโบราณเพิ่งสลักหินเสร็จยังไม่ได้มีการขัดแต่งให้เนื้อตัวนางอัปสราเกลี้ยงเกลาแต่อย่างใด นางอัปสราลิ้น 2 แฉก อยู่ที่องค์ปรางค์ประธาน ไม่รู้ว่าช่างขอมโบราณพลั้งมือสลักพลาดไป หรือว่าช่างคนนี้โดนสาวคนรักลวงหลอกจึงหาทางมาระบายออกที่รูปสลักนางอัปสราแทน | |||||
ด้วยความที่อัปสรานางนี้อยู่สูงจึงทำให้ถันของอยู่รอดปลอดภัยจากการถูกสัมผัสมาจนถึงบัดนี้ ส่วนนางอัปสราที่สวยที่สุด จริงๆแล้วก็ขึ้นอยู่กับความชอบส่วนตัวว่าใครรักแบบไหน ชอบแบบไหน แต่ที่หลายๆคนยกให้ว่าเป็นนางอัปสราที่มีความสวยสง่าและมีองค์ประกอบแห่งความงามมากที่สุดก็คือ อัปสรานางหนึ่งที่แอบอยู่ในหลืบข้างช่องประตูใจกลางปรางค์ประธานที่มีใบหน้าอมยิ้มยกสองมือมือประคองถือดอกไม้ ที่ผมดูแล้วก็ให้รู้สึกเพลินตาเพลินใจดี แต่ว่าอัปสรานางนี้ไม่ใช่นางอัปสราที่ฮอตฮิตที่สุด เพราะนางอัปสรา(ขวัญใจ)มหาชนนั้นอยู่ที่ใกล้กับใจกลางปรางค์ประธานอีกเหมือนกัน อัปสรามหาชนนางนี้ คนเขมรที่นับถือนางอัปสราต่างเชื่อว่าใครที่อยากมีลูกหรือมีลูกยาก หากไปลูบจับถันของอัปสรานางนี้ก็จะได้ลูกสมดังปรารถนา แต่ว่ากับนักท่องเที่ยวต่างชาติส่วนใหญ่มักจะไปจับถันนางอัปสราแบบเอามันหรือไม่ก็จับตามคนอื่น จนทำให้เนื้อตัวท่อนบนของอัปสรานางนี้ถูกคนจับจนมันเลื่อม โดยเฉพาะที่ปทุมถัน 2 ข้างนี่ถูกลูบจับจนมันวับเหมือนลงแว็กซ์ยังไงยังงั้น ซึ่งผมถือว่ารูปสลักอัปสรามหาชนนางนี้มีชะตากรรมน่าสงสารที่สุดในนครวัด... |
"ต้นกำเนิดของนางอัปสร"
มาจากตำนานการ "กวนเกษียณสมุทร" ในตอนอวตารหนึ่งของพระนารายณ์มาเป็นเต่า (กูรมาวตาร )
มีตำนานเล่าว่า เทวดากับอสูรมักจะสู้รบกันอยู่เสมอ และฝ่ายเทวดามักจะพ่ายแพ้ เนื่องจากต้องคำสาปฤาษีตนหนึ่ง เหล่าเทวดา จึงไปของให้พระนารายณ์ช่วยเหลือ พระองค์ได้แนะนำให้ทำพีธีกวนเกษียรสมุทร (กวนน้ำในมหาสมุทรให้เหลือเพียงหนึ่งถ้วย เพื่อเป็นน้ำทิพย์ เมื่อดื่มแล้วจะเป็นอมตะ ) แต่มหาสมุทรก็กว้างใหญ่มาก จึงต้องใช้เขาพระสุเมรุมาเป็นไม้กวน ใช้พระยานาคมาเป็นเชือก และปั่นดึง สองข้าง เทวดาจึงไปหลอกให้อสูรมาช่วยกวน และบอกว่าจะแบ่งน้ำทิพย์ให้ดื่ม และให้อสูรอยู่ทางหัวพระยานาค
เมื่อกวนไปกวนมา แกนโลกอาจจะเกิดทะลุได้ พระนารายณ์จึงต้องอวตารลงมาเป็นเต่า เพื่อรองรับเขาพระสุเมรุ เมื่อกวนไปกวนมา พระยานาควาสุกรีเกิดความร้อนและระคายเคืองคอ จึงพ่นพิษออกมา พระศิวะกลัวว่าพิษจะไปทำลายล้างโลก จึงได้รับกลืนพิษไว้หมด ด้วยเหตุนี้พระสอของพระศิวะจึงมีสีดำ หลังจากเทพและอสูรกวนเกษียณสมุทรเพื่อเอาน้ำทิพย์แล้ว
สิ่งที่ผุดขึ้นจากการกวนมี 10 อย่าง หนึ่งในจำนวนนั้นคือ "กลุ่มนางอัปสร" เป็นหญิงงามทั้งหมดจำนวน 35 ล้านองค์ แต่จะด้วยอะไรก็ตาม หญิงเหล่านี้ไม่มีเทวะองค์ไหนรับไปเป็นชายาประจำตัวเสียให้เบ็ดเสร็จเด็ดขาดลงไป คงปล่อยนางไว้ลอยๆ บนสวรรค์
แต่จะว่าเป็นอิสระมีสิทธิสตรีแบบหญิงแกร่งก็ไม่ใช่ เพราะเทพมักจะใช้นางอัปสรลงไปปฏิบัติงานบนโลกเป็นประจำ หน้าที่หลักก็คือไปยั่วยวนทำลายตบะของฤาษีที่ทำท่าว่าบำเพ็ญนานแล้วจะเก่งกว่าเทวดา พอฤาษีเสียที นางก็กลับขึ้นสู่สวรรค์
แต่บางครั้งเคราะห์ร้าย ถูกฤาษีโกรธสาปเอาให้มีอันเป็นไปก็มี
ส่วนเทวดาผู้ใช้นางไปทำงานนั้นกลับรอดตัว นางอัปสรชื่อเมนกา เคยไปทำลายตบะของฤาษีวิศวามิตรสำเร็จ มีลูกสาวออกมาชื่อศกุนตลา
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าทรงพระราชนิพนธ์เรื่องของนางไว้ชื่อ "ศกุนตลา" เป็นของขวัญแด่พระคู่หมั้น คือพระวรกัญญาปทาน
ทั้งนี้ยังไปหลอกล่อ ยั่วยวนอสูร เหล่าอสูรก็หลงเลห์วิ่งไล่ปล้ำเหล่านางอัปรา ทำให้เหล่าเทพดื่มกินน้ำทิพย์จนหมดสิ้น เหล่านางอัปสรานี้ จึงได้ชื่อว่าเป็น นางบำเรอสวรรค์และจะอยู่ในสวรรค์ชั้นล่างๆ ที่ยังมีการติดอยู่ในความสุขสำราญแบบ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส อยู่
แต่ทั้งนี้.. ในบางความเชื่อ ก็มีเรื่องราวที่ต่างออกไปในเรื่อง "ต้นกำเนิดนางอัปสร" ในเรื่องเล่าของอินเดียมีการกล่าวถึงนางอัปสรไว้มากมาย นับว่าเป็นตัวละครที่สำคัญตัวหนึ่งในตำนานของอินเดีย ไม่น้อยไปกว่าเทพเจ้าและชาวสวรรค์อื่นๆ
ตามตำนานของฮินดู กล่าวว่าพระพรหมทรงสร้างนางอัปสรขึ้น และเป็นนางบำเรออยู่ในราชสำนักของพระอินทร์ ในคัมภีร์นาฏยศาสตร์ ได้กล่าวถึงนางอัปสรที่สำคัญไว้หลายตนด้วยกัน เช่น มัญชุเกศี, สุเกศี, มิสรเกศี, สุโลจนะ, เสาทมิณี, เทวทัตตะ, เทวเสนะ, มโนรม, สุทาติ, สุนทรี, วิคัคธะ, วิวิธ, พุธ, สุมล, สันตติ, สุนันทา, สุมุขี, มาคธี, อรชุนี, สรลา, เกระลา, ธฤติ, นันทา, สุปุษกลา, สุปุษปมาลา และ กาลภา
นางอัปสรากำศรวล |
นางอัปสราวัยขบเผาะ |
นางอัปสราร่าเริงสำราญ |
ท่านได้เล่าให้ฟังว่า มีนักท่องเที่ยวจากเมืองไทยเป็นสุภาพสตรีมีกระตังส์มาก ได้ไปเที่ยวเสียมเรียบ ได้ไปเป็นรูปสลักทางอัปสรา แกะสลักเท่าตัวคนจริง เธอถูกชะตามาก จึงของซื้อแล้วนำกลับมาเมืองไทย ราคาไม่เกี่ยงเพราะมีกะตังส์ เมื่อเอามาแล้วได้เอามาตั้งไว้ที่บ้าน ซึ่งใหญ่โตมาก นัยว่าจะเป็นเครื่องประดับบ้าน
ปรากฎว่า ตั้งแต่วันแรกที่นำรูปสลักนางอัปรามาไว้ที่บ้าน เธอนอนไม่หลับตลอด ๗ วัน ๗ คืน ทำให้ลำบากยุ่งยากใจมาก จึงขอคำปรึกษาอาจารย์สถี ที่สกลนคร อาจารย์ได้แนะนำให้ทำขันธ์ ๕ เครื่องบวงสรวงสักการะ บาสี ขนม นมเนย ผลไม้ น้ำท่าอุดมณ์สมบูรณ์ บอกกล่าวขออัญเชิญดวงวิญญาณที่สิงสถิตย์อยู่ในองค์สลักนางอัปสราว่า ขอเชิญมาสถิตย์ในองค์สลักนี้ เพื่อรักษาคุ้มครองให้เจ้าของบ้านอยู่เย็นเป็นสุขตลอดไป
ตั้งแต่ทำพิธขอขมาบอกกล่าวแล้ว เธอก็นอนหลับ สุขกายใจ ใช้ชีวิตปกติสุขดังเดิม....
ถึงว่า ไม่เชื่อก็อย่าไปว่าคนอื่น เพราะเป็นความเชื่อเฉพาะบุคคล
นางอัปสราคู่แฝดที่สวยที่สุด |
นางอัปราอารมณ์บ่จอย |
นางอัปสราทิวาราตรี(ขาวดำ) |
ให้เริ่มท่องนโม ๓ จบ (อย่าว่า นะโม นะโม นะโม แค่นี้นะ ให้ว่าจนจบบท นะโมตัสสะ ภควะโต....)
จากนั้นก็ให้ อธิษฐาน คือคิดเอานั่นแหละ แล้วท่องคาถาว่า
อัป ปะ สะ ระ มหา บา ระ มี
ภะ วัน ตุ เม นะโมพุทธายะ
บูชาด้วยดอกไม้ ของหอม ผลไม้ แว่นหวี กระจก อื่นๆ ตามสมควร
นางอัปสรางามวิไล |
นางอัปสรากรีดกราย |
นางอัปสราสองนางพี่น้อง |
นางอัปสราไฮโซที่สุด |
นางอัปสราวัยละอ่อนน้อยสองพี่น้อง |
นางอัปสราไฮโซแฟชั่น |
รูปทั้งหมดนี้มีรูปเดียวที่เป็นของกอปปี้มาจากเนื้อหาอาจารย์ปิ่น บุตรี นอกนั้นเป็นรูปที่ท้าวไซยคำเลาะถ่ายเองทั้งหมด ท่านใดประสงค์อยากเอารูปไปใช้งานใดๆ ไม่ว่าทางการศึกษา การค้า ประดับร้าน หรือแม้แต่เอาใส่กรอบไว้บูชา ขอให้เอาไปได้เลย ท้าวไซยยินดีมอบให้เพื่อเป็นการทำทานบารมี
ขอน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายบุญนี้
แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พ่อหลวงของพวกเราทุกคน ขอพระองค์เสด็จสู่สวรรคาลัย...
ดีมากค่ะ ได้ความรู้ อ่านเพลิน ไม่ยืดยาวน่าเบื่อ
ตอบลบ