วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

๑๑.ตะวันลับฟ้าที่ปราสาทพนมบาเค็ง


สายัณห์ตะวันรอน ของวันที่ ๒๒ ตุลาคม พศ.๒๕๕๙  เวลาบ่ายสามโมงกว่าๆ หลังจากทานน้ำส้มน้ำหวานมะม่วงปั่นมะนาวแตงโมงกับสาวเพชรตาหวานแล้ว  ไกด์และสารถีอเล็คของเราก็พากันโบกมือลาสาวขะแมร์ทั้งหลายร้าอนลิงทองมาที่ปราสาทพนมบาเค็ง

ระยะทางจากปราสาทนครวัดมาที่ปราสาทพนมบาเค็งใช้เวลาราว ครึ่งชั่วโมง  มีนักท่องเที่ยวสัญจรไปมาขวักไขว่ทั้งสามล้อ ทั้งปั่นจักรยาน ทั้งมากับทัวร์  อุเม่เจ้า...ง  ท้าวไซยคำเลาะนัยตาลุกวาวเห็นแต่เงินดอลล่าส์หล่นเต็มไปหมดเงินทั้งน้านนน....  นับว่าเป็นมรดกที่บรรพบุรุษชาวขอมโบราณทำไว้ให้มากมายกินไปจนโลกแตกก็ไม่จบสิ้น  จากอดีตที่ผ่านมา จนต่อไปในอนาคตจากนี้เมืองเขมรจะมีแต่คนร่ำรวยจากการท่องเที่ยวอย่างแน่นอน  แล้วมีใครในโลกนี้ที่คิดจะสร้างปราสาทขอมจำลองขึ้นมาใหม่ให้มีทุกปราสาทในเมืองจำลองสักแห่งเนื้อที่สัก ๕๐๐  ไร่  รับรองคนแห่มาเที่ยวอื้อ  แต่ก็ต้องลงทุนสร้างพอสมควรทีเดียว

สารถีอะเล็คพาปั่นกินฝุ่นโต้ลมแดดร้อนมาไม่นานก็ถึงร้านสินค้าเป็นเพิงมุงผ้าใบสีเขียว สองผัวเมียพูดไทยได้นิดหน่อย เราซื้อไฟแช็คกับเทียนสักหน่อยเผื่อได้ไหว้เจ้าที่เจ้าฐาน  มากับฤาษีก็ควรจะมีพิธีกรรมสักเล็กน้อย



หลังจากจอดรถเสร็จอ้าวชักจะปวดเบาต้องเข้าไปปลดทุกที่ห้องสุขา  ดีว่าไม่ต้องจ่ายตังส์ เพียงแต่โชว์บัตรผ่านประตูก็ได้ระบายน้ำประปาสมใจ
ข้างนอกมีรถสี่ล้อมารอรับจับนักท่องเที่ยวมากมายจอดเป็นแถวบางคนเหนื่อยมากก็แปลงร่างเป็นขะแมร์พักผ่อนหลับใหลห้อยขาก็มี  ในที่นี่ไม่ได้ถามว่ามีรถสี่ล้อประมาณกี่คัน  
ขณะเดียวกันก็มีชบริการขี่ช้าง  ใครที่ชอบขี่ช้างก็ไปขึ้นได้เลย ลืมถามไปว่าราคาเท่าไหร่  พวกเราตัดสินใจเดินขึ้นเนินเขาไปเรื่อยๆ ตามนักท่องเที่ยวคนอื่นที่มาีมากมายหลายชนชาติ  ไม่ต้องขี่ช้างก็ได้  ที่ประตูก็มียามเขมรมาคอยต้อนรับเป็นกันเองถ่ายรูปไว้เป็นที่ระทึกว่าเคยมาที่นี่แล้ว

ระหว่างทางเดินขึ้นมา ก็มีวงมโหรีปี่พาทลาดตะโพนของผู้พิการจากสงคราม  มาเล่นให้ฟังสดๆ ขอเพลงค้างคาวกินกล้วยก็ได้  เลยฟ้อนเข้าจังหวะสวยงามดี  มันส์มาก  ถึงมากที่สุด  นับว่าดนตรีเข้าถึงจิตวิญญานดีมากทุกคน  ท้าวไซยฟ้อนเข้าจังหวะจนผ้าเหน็บกระเป๋าหายตอนไหนไม่รู้  ฮาฮาฮา  เอิ้บ...หลังจากเฉิ๊บๆ กันพอสมควรแล้วก็ทำบุญสมทบค่าข้าวค่าน้ำนักดนตรีพิการจากสงครามไปตามสมควร  ต้องมีการแบ่งปันให้คุณค่าชีวิตกันไปโลกจะได้อยู่ดีมีสุขตลอดไป



ระหว่างที่เดินไปตามทางขึ้นเขาพนมบาเค็งนั้นมองเห็นอยู่ซ้ายมือ คือทางเดินลัดขึ้นยอดเขาสูงชั้นแต่มีป้ายบอกว่าห้ามผ่าน  เส้นทางนี้อาจเป็นเส้นทางในการส่งเครื่องมืออุปกรณ์ขึ้นไปซ่อมแซมปราสาทก็ได้ หรืออาจเป็นทางขึ้นปราสาทเก่าแต่อยู่ระหว่างการปรับปรุง 
     ก่อนขึ้นไปถึงยอดเขาครึ่งทางมีที่พักชมวิว  แต่เนื่องจากเป็นเวลาโพล้เพล้  ถ่ายรูปออกมาจึงมองไม่เห็นทะเลสาบขนาดใหญ่ที่มองไกลๆ ไม่ชัดเจนมากนัก  น่าจะเป็นโตนเลสาปที่โด่งดังของเขมร
                            
          ขึ้นมาเกือบจะถึงยอดพนมบาเค็งมองเห็นก้อนหินเรียงรายอยู่  แน่นอนต้องเป็นชิ้นส่วนขององค์ปราสาทที่ช่างนำมาเรียงไว้ มีหมายเลขกำกับด้วย  คงอยู่ระหว่างการซ่อมแซมองค์ปราสาทและก็เป็นจริงเช่นนั้น  มองเห็นช่างกำลังซ่อมและมีเครนมายกก้อนหินประกอบปราสาทอยู่ข้างบน
หลายท่านคงสงสัยว่า เทือกเขาพนมบาเค็งที่มีปราสาทนี้ตั้งอยู่มีความสำคัญอย่างไร  ท้าวไซยก็สงสัยเหมือนกัน  งั้นจะไปค้นคว้ามาขยายความให้ประเทืองปัญญากันดังนี้
(ข้อมูลจากhttp://www.oceansmile.com/KHM/Panompakang.htm)

ปราสาทพนมบาแคง : สร้างในปีกลางพุทธศตวรรษที่ 15(ประมาณ พ.ศ. 1450)
• รัชสมัย : รัชสมัยของพระเจ้ายโศวรมันที่ 1
• ศิลปะ : ศาสนาฮินดูไศวนิกาย (บูชาพระศิวะ)
• ศาสนา : เป็นศิลปะแบบบาแคง

  


• สถานที่ตั้ง : ปราสาทพนมบาแคงตั้งอยู่บนเขาลูกเล็กมีความสูงประมาณ 70 เมตร มีชื่อเรียกในสมัยโบราณว่าปราสาทพนมกันดาล (พนม แปลว่า ภูเขา, กันดาล แปลว่า กลาง)  ตั้งอยู่ตรงกลางระหว่างปราสาทพนมกรอมกับปราสาทพนมบก ซึ่งอยู่บนภูเขาขนาดใกล้เคียงกัน ต่อมาเรียกปราสาทนี้ว่า ปราสาทพนมบาแคงตามลักษณะของต้นบาแคง (คล้ายต้นมะขาม) ที่มีอยู่มากในบริเวณภูเขานี้ 
ชื่อของปราสาทดั้งเดิมจริงๆ นั้นเรียกว่า ปราสาทยโศธระปุระ คือใช้ชื่อของพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 นั่นเอง ตัวปราสาทอยู่ใจกลางของยอดเขาปราสาทพนมบาแคง จำลองลักษณะมาจากปราสาทบากอง มีสถาปัตยกรรมคล้ายกัน รูปทรงแบบปิรามิด ที่ตัวระเบียงแต่ละชั้นมีปราสาทเล็กๆ 4 มุม ภายในปรางค์ประธานมีศิวลึงค์ตั้งอยู่ตั้งแต่ พ.ศ.1450 ในปีที่เริ่มสร้างปราสาท ในขณะที่การก่อสร้างยังคงดำเนินต่อไปจาก พ.ศ. 1450-1471 นานถึง 21 ปี หลังจากนั้นอีก 40 ปีในรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 ได้มีการบูรณะซ่อมแซมปราสาทนี้ขึ้นเป็นครั้งแรก พระพุทธรูปที่เห็นในปรางค์ประธานนั้น มีการอัญเชิญพระพุทธรูปขนาดใหญ่ขึ้นไปประดิษฐานบนแท่นหินทรายแทนศิวลึงค์เมื่อ พ.ศ. 2059
• ปราสาทพนมบาแคง เป็นศาสนสถานแห่งแรกของเมืองพระนคร ทางขึ้นอยู่ทางทิศตะวันออกเป็นเขาสูงชัน ปัจจุบันตัวปราสาททรุดโทรมลงมากแต่ยังมีความยิ่งใหญ่ เริ่มจากบันไดขึ้นสู่ปรางค์ประธานที่มีอยู่ 5 ชั้น แต่ละชั้นมีปรางค์เล็ก 12 ปราสาท รวม 5 ชั้น มี 60 ปราสาท ส่วนบนยอดมีปรางค์บริวารล้อมรอบปรางค์ประธานอีก 4 ปราสาท เสมือนเป็นการจำลองยอดเขาพระสุเมรุรวมทั้งหมดมี 89 ยอด
• ตัวปราสาท ตั้งอยู่บนยอดเขา จึงเป็นจุดชมวิวที่สวยงาม โดยเฉพาะเห็นยอดปราสาทนครวัดผุดขึ้นกลางป่า ในยามบ่าย แสงสาดส่องเข้าปรางค์ปราสาทนครวัดทำให้เห็นเป็นสีทอง นอกจากนั้นยังเห็นวิวได้ 360 องศา เป็นบารายทิศตะวันตกซึ่งกลางบารายนี้จะมีสระเล็กๆ เป็นที่ตั้งของปราสาทแม่บุญตะวันตก นอกจากนี้ยังเห็นตัวเมืองเสียมเรียบ เห็นยอดเขาพนมบกที่อยู่ห่างออกไปประมาณ 14 กิโลเมตรและเทือกเขาพนมกุเลนทอดยาว
• เวลาท่องเที่ยว : ช่วงตอนบ่าย-เย็น เพราะจะได้ดูพระอาทิตย์ส่องตัวปราสาทนครวัด หรือจะรอดูพระอาทิตย์ตกก็สวยงาม




ระหว่างนี้ปราสาทพนมบาเค็งกำลังบูรณะให้สมบูรณ์ขึ้นกว่าเดิมโดยความร่วมมือของประเทศกัมพูชาและองค์กรของอเมริกาเข้ามาบูรณะช่วยกัน  ซึ่งก็ทำไปได้บางส่วนแล้ว ดังรูปข้างล่าง




ปราสาทพนมบาเค็งเป็นปราสาทที่สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นสถานที่บูชาพระศิวะ หรือศิวลึงค์ เรียกว่าเทวลัยสถาน มีรูปร่างคล้ายกับปิรามิด มีบันใดขึ้นทั้งสี่ด้าน รูปแบบการก่อสร้างจึงต่างกับปราสาททั่วๆไป 
   พนมบาเค็งเปรียบเสมือนเป็นเสาหลักเมือง หรือศูนย์กลางของอาณาจักรขอม อายุของปราสาทราว 1000 ปี สร้างในสมัยของพระเจ้ายโสวรมัน ที่ 1 กษัตริย์ขอมองค์ที่ 3 ในยุคพระนคร ( Angkor) ระหว่างพ.ศ. 1432- 1453 ( คศ.800-910)

จากรูปที่ถ่ายมานี้  มีข้อสังเกตุหลายอย่าง  ๑.ปราสาทพนมบาเค็งสร้างโดยวัสดุหลักคือ อิฐ หรือดินเผา  และจากหินทราย  การก่ออิฐสร้างปราสาทสมัยโบราณเป็นพันปีสังเกตุดูไม่เห็นมีปูนซิเมนต์เป็นตัวประสานเหมือนปัจจุบัน หรือแล้วเขาใช้อะไรเป็นตัวประสาน หรือว่าไม่มีอะไรเลย เพราะตามรูปอิฐสนิทแนบกันมาก   หรือจะใช้หลักการเรียงอิฐขวางสลับกันไปมาดังรูป หรือเปล่า  ระหว่างรอยต่อของอิฐที่เรียงตามยาวก็ใช้อิฐขวางมาทับลงไปทำให้การก่ออิฐแน่นหนามากขึ้น  ส่วนจะมีการดึงยึดองค์ปราสาทด้วยวัดดุข้างในอีกทีหรือไม่  ตอบไม่ได้
       ระหว่างที่เรากำลังจะขึ้นไปชมปราสาทนั้น  เนื่องจากปราสาทพนมบาเค็งมีชื่อเสียงอย่างมากในการชมพระอาทิตย์ขึ้น และพระอาทิตย์ตก  ทำให้มีนักท่องเที่ยวมาชมปราสาทนี้อย่างมากมาย  บัตรที่จะห้อยคอนักท่องเที่ยวนั้นหมดก่อน  จำต้องให้ยืนเข้าแถวเรียงคิวยาวเหยียดเป็นร้อยเมตร  จนกว่านักท่องเที่ยวจะลงมาแล้วเอาบัตรมาคืนให้เจ้าหน้าที่  เจ้าหน้าที่จะเอาบัตรมาให้เราแขวนคอก่อน  เราถึงจะได้ขึ้นไปชมปราสาทได้
ก่อนจะขึ้นไปข้างบนปราสาท มีรูปสลักวัวจากหินไม่ทราบว่าสลักไว้ทำไม  หรือจะเป็นโคนนทิ  ถ้างั้นเรามาทราบประวัติโคนนทิกันสักเล็กน้อยซึ่งก็ไม่พ้นไปลอกข้อมูลมาจากวิกีพีเดีย
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A

อุสุภราช หรือ นนทิ (อักษรโรมันNandiสันสกฤต: नंदी) เป็นชื่อโคเผือกที่เป็นพาหนะของพระศิวะ กำเนิดมาจากเมื่อครั้งกวนเกษียณสมุทร พระกัศยปะหรือพระศิวะต้องการให้นางโคสุรภีเป็นพาหนะประจำพระองค์ แต่ติดว่านางโคสุรภีเป็นโคเพศเมีย หากจะเป็นโคพาหนะจึงควรเป็นโคเพศผู้มากกว่า พระกัศยปะจึงได้เนรมิตรโคเพศผู้ขึ้นมาให้สมสู่กับนางโคสุรภี ลูกโคที่เกิดมาเป็นโคสีขาวปลอดเพศผู้ลักษณะดีคือ โคอุสุภราช พระกัศยปะจึงได้ประทานชื่อให้ว่า นนทิ หรือ นันทิ และได้ถวายให้เป็นพระพาหนะแด่พระศิวะ
อีกตำนานหนึ่งของการกำเนิดโคอุสุภราช กล่าวว่า เดิมทีเป็นเทพบุตรองค์หนึ่งชื่อ นนทิ เป็นเทพที่ดูแลบรรดาสัตว์ 4 ขาต่าง ๆ ที่เชิงเขาไกรลาส และมักเนรมิตรตนให้เป็นโคเผือกสีขาวเพื่อเป็นพาหนะของพระศิวะเมื่อเสด็จไปยังที่ต่าง ๆ
โคอุสุภราชในความเชื่อของชาวฮินดูไม่เพียงแต่เป็นสัตว์พาหนะตัวหนึ่งเท่านั้น แต่ยังได้รับการบูชาดุจดั่งเทพเจ้าองค์หนึ่ง ดังนั้น โคหรือวัวสำหรับชาวฮินดูจึงถือเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ ชาวฮินดูจึงไม่ฆ่าโคและกินเนื้อวัว ในพิธีการมงคลแบบฮินดู พราหมณ์จะนำมูลโคมาเจิมหน้าผาก ถือว่าเป็นมงคลประการที่ 7 และในวิหารบูชาพระศิวะมักมีรูปปั้นโคอุสุภราชนี้ประดิษฐานที่กลางวิหารด้วย ด้วยถือว่าเป็นสัญลักษณ์หนึ่งขององค์พระศิวะ
ไหนๆ ก็บอกพาหนะของพระศิวะแล้ว ก็บอกพาหนะของมหาเทพอีก ๒ องค์เลย ได้แก่ 
                พระพรหม(พระผู้สร้าง) มีพาหนะเป็น พญาหงส์ มีนามว่า หงส์สวาหน ถือว่าเป็นเจ้าแห่งหงส์ทั้งปวง แต่บางตำราก็ว่า พระพรหมทรงประทับอยู่บนรถมีหงส์เจ็ดตัวลาก 
        พระนารายณ์(พระผู้ปกป้อง) มีพาหนะเป็น พญาครุฑ มีนามว่า พญาสุวรรณ หรือ พญาครุฑเวนไตร  กล่าวขานกันว่า พระนารายณ์เคยรบกับพญาครุฑแต่ปรากฏว่าไม่สามารถรู้ผลแพ้ชนะกันได้ จึงทำสัญญาเป็นมิตรกัน โดยเวลาที่พระนารายณ์จะเสด็จไปไหนพญาครุฑจะยอมเป็นพาหนะให้ แต่เมื่อพระนารายณ์ทรงประทับอยู่ที่ใด พญาครุฑจะต้องอยู่สูงกว่าพระนารายณ์ คือขึ้นไปอยู่บนยอดเสาธงของพระนารายณ์